วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เพลงมันเศร้าๆ

บันทึกประจำวัน วันที่12-15 ส.ค. 2553

หยุดยาวแบบนี้

โปรแกรมน่าจะกลับไปหาพ่อกับแม่ที่บ้านเกิดนะ

15.00 น. วันที่  13 สิงหาคม 2553

ถึงสักทีนะ  อ.งาว จ.ลำปาง

เย้ๆๆๆ  หาแม่กัน

วันแม่แบบเนี้ย  ขออยู่กับแม่นานๆหน่อย




กิจกรรมก็ไม่มีอะไรมาก  ก็คงจะใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่าพร้อมหน้าพร้อมตา

มีน้องสาวอีกคน

^^

Week-end ,  I'm so happy 

บันทึกประจำวัน วันที่11 ส.ค. 2553

ว้าวๆๆ  วันพุธแล้ว

พรุ่งนี้โรงเรียนก๊ปิดแล้ว

08.20 น.  เริ่มต้นเรียนก๊ฝรั่งเศส  เลย 2คาบ

                ตามมาด้วยภาษาไทยล้านากัน 
 
               วันนี้ก็คงจะสอบร้องเพลงกล่อมเด็กกันล่ะ

                555  อื่อ  จา จา  หลับสองตา  อี่หล้าน้อย...ของแม่เหย 


11.45  น.    ได้เวลากินข้าวกันอีกแล้ว

12.35  น.    เริ่มเรียนภาคบ่ายกันด้วยวิชา  ภาษาอังกฤษ

                  หลังจากนั้นก็เรียนเสรี  อีก  3  คาบ

                  เฮ้ออ....มันนานไปไหนล่ะ


แล้วเวลา  ก็เหมือนๆเดิม

23.00 น. เราก็เข้านอนกัน

บันทึกประจำวัน วันที่10 ส.ค. 2553

วันนี้วันอังคารสิเนี่ย

05.30  น.  ตื่นครับพี่น้องไปโรงเรียนได้แล้ว

08.20 น.  เริ่มเรียนวิชาแรก ก็คอมๆ

                เขียนblog กันเพลินเชียว !

               หลังจากนั้นก๊เรียนๆสิครับพี่น้อง



กลับบ้าน ๆ ยะฮู้ๆๆ

.........................

บันทึกประจำวัน วันที่9 ส.ค. 2553

วันจันทร์

05.30 น.  ตื่นๆๆๆสิครับ ไปโรงเรียนกัน

08.20 น.  เริ่มเรียนกัน  เอ้า สูๆ

          

11.45 น.  เย้ๆๆ  พักกินข้าว

              เฮ้อออ   สบายจัง^^

12.30 น.  เอาน่ะเรียนกันต่อ

16.00 น.  ว้าๆๆกว่าจะเลิกเรียน

17.30  น.  รถมาแล้ว... กลับบ้านดีกว่า

18.00 น. กินข้าวๆๆๆๆๆ


20.00 น.-22.00 น.  อาบน้ำ+กินข้าว  +ทำการบ้าน

23.00 น. ก็นอนสิครับ  เวลานี้

บันทึกประจำวัน วันที่8 ส.ค. 2553

วันอาทิตย์

10.00 น.  ตื่นสายอีกเช่นเคย

11.30 น.  หลังจากอาบน้ำ+กินข้าว

               ซักผ้า

               ล้างจาน

               ทำงานบ้าน

12.30. น. ได้เวลากินข้าวเที่ยงแล้ว  เย้ๆๆ

13.00 น.  ได้เวลาสะสางการบ้านสิ  สู้โว้ย (มีเป็นกอง)

17.00 น.  ยังไม่เสร็จอีกเหรอเนี่ย  TT

20.00 น.   อาบน้ำๆกัน เหนียวตัวจะแย่!

21.00 น.  ดูทีวีกันสักหน่อย

23.00 น.  กว่าละครจะจบก็หลับดึกประจำ

บันทึกประจำวัน วันที่7 ส.ค. 2553

09.30  น. เฮ้อออวว ....ตื่นๆครับพี่น้อง

            จะนอนกินบ้านกินเมืองไปไหน

10.00  น.  กินข้าว+อาบน้ำ

11.00 น.-15.00 น.  ดูทีวี  ฟังเพลง เล่นเกม  เล่นกีตาร์  บลาๆๆๆ

17.00 น.  ได้เวลาหม่ำๆ(กินข้าว)กันอีกรอบ

22.00 น.  หิวๆ  มีกินข้าวรอบดึก  55+

22.30 น.  ดูหนังสือกันสักหน่อย

23.00 น.  เข้านอนเช่นเคย

บันทึกประจำวัน วันที่6 ส.ค. 2553

วันศุกร์แล้ว  เย้ๆๆ

เรียนครึ่งวัน

(ไปเที่ยวไหนกันดี)

555+

ไปดูของขวัญให้แม่กันดีกว่า

วันนี้ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

23. 00  น. ง่วงๆ  นอนกันเถอะ

บันทึกประจำวัน วันที่5 ส.ค. 2553

วันนี้ก็เรียนเช่นเคย

เพราะวันนี้เป็นวันพฤหัสบดี

เวลาก็เดิมๆ

ที่เปลี่ยนก็คงจะเป็นตารางสอน^^

การบ้านก็เพิ่มด้วย

!!

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกประจำวัน วันที่4 ส.ค. 2553

วันนี้วันพุธ

^^ 06.00 น. วันนี้ตื่นสายหน่อยๆ
    
     06.45 น. เลยทำให้ไปรอรถสายด้วยเช่นกัน
  
     07.15 น. ถึงโรงเรียนตามเคย
 
     08.20 น.เริ่มเข้าเรียนแล้วล่ะสิ  2 คาบแรก เรียนฝรั่งเศส
           
                  เรียนนานๆมันชักยากขึ้นเรื่อยๆ

     10.05. น.เรียนภาษาไทย ล้านนา

                 เรามาอนุรักษ์ภาษาพื้นเมืองของเรากันเถอะ

            
  เอ้านักเรียน...  ไหว้สาเจ้า^^
              

......................

11.45  น.   เย้ๆกินข้าวกันเถอะ  หิวๆๆ

12.35  น.   เอาล่ะกินอิ่มก๊มาเรียนกันต่อ

                 เรียนอังกฤษภาคบ่ายมันช่างง่วงจิงๆเรย

                                    13.25  น .  เรียนเสรี  3  คาบรวด !!

                                                    
                                    16.00  น.  เลิกแล้วโรงเรียนเลิกแล้ว

                                                    ทำอะไรกันดีล่ะ รถมาตั้ง 17.30

                                                    ไปเดินเล่นกันดีกว่า

                                  17. 50 น.    ถึงบ้านสักที

                                  18.00  น.    กินข้าวเย็นกันเถอะ!

                                 19.00   น.  การบ้านมาแล้ว  มาเป็นกองเชียว

                                 23.00  น.   เข้านอนดึกไปอีกคืน!!

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกประจำวัน วันที่3 ส.ค. 2553

05.30  น.  ตื่นสิครับ  ไปโรงเรียนอีกแล้ววันนี้วันอังคาร^^

เวลาก็เหมือนๆกัน

ถึงเวลาไปรอรถก๊เหมือนเดิม

เรียนก็เหมือนๆเดิม

กลับบ้าน็เหมือนเดิมๆ

เอาเป็นว่าวันนี้  มีเวลาน้อย

ไปก่อนนะครับ^^

บันทึกประจำวัน วันที่2 ส.ค. 2553

05.30  น. ตื่นๆๆๆๆ  ตื่นได้แล้ว ไปโรงเรียนครับ

06.30  น. รอรถเมื่อไหรจะมา

07.15  น. กว่าจะถึงโรงเรียน

08.20-16-00 น.  ก๊เรียนมันทั้งวัน

17.30  น. กลับบ้านกันดีกว่า^^

18.00  น.  หลับเอาแรงสักหน่อย

                   V
                   V









20.00  น.  ตื่นสิ  มาทำการบ้าน อ้อ  อย่าลืมอาบน้ำ^^!


23.00  น.  เฮ้อ  กว่าจะได้หลับ(อีกรอบ)

บันทึกประจำวัน วันที่1 ส.ค. 2553

10.00 น.   วันนี้วันอาทิตย์ๆๆๆ   เลยตื่นสายนิดหน่อย 5555+

                             วันนี้มีโปรแกรมว่า

10.30 น.  อาบน้ำแต่งตัว จะถามว่าไปไหนไม่ไปไหนหรอก !!-_-^

11.00    น. อาบน้ำเสร็จก็มากินข้าวกันเถอะ


ข้าวเช้าข้าวเที่ยงนี่มื้อเดียวกันเลยแฮะ ^^

12.00 น. ดูทีวีกันดีกว่า !!

15.00 น. ไปซักผ้ากันเถอะมันเน่าล่ะ  55+



                              เ ย้มาซักผ้ากัน!!

17.00 น. การบ้านที่เหลือ ปั่นด่วน

19.00 น.  เ ฮ้อ อาบน้ำกันอีกสักรอบมั้ย อากาศมันร้อนนะ

21.00 น.  หลับล่ะ  ง่วง zZ  













วันแม่!!

วันแม่แห่งชาติ



วันแม่แห่งชาติ ที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ และถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย
ความหมายของดอกมะลิ
ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์และเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นใจ จึงยกย่องให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ ซึ่งทางราชการให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา อ่านเพิ่มเติม

ประวัติวันแม่

แต่เดิมนั้นวันแม่แห่งชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่ มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรก เป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขวัญวันแม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พุทธศักราช ๒๕๑๙ ทางราชกาารได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็น วันแม่แห่งชาติ เริ่มในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า
"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้วความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด
หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นอยู่แล้ว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมืองและของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"

ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ
ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนดวัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า
"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกลก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปีติ แล้วจึงหัวเราะออกลักษณะการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนั้นย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"
และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า

"เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่เป็นเสียและความหมายที่ซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณ และความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงเรียกตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็นแม่มาก็หัวเราะทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่ เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมด
เราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"
อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่งและกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า

ดอกเอ๋ยดอกมะลิ

ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น

สดสะอาดปราศสีราคีระคน

เหมือนกมลสดใสหมดระคาย



กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง

เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย

อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย

ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย



ที่มา : http://guru.sanook.com/pedia/topic







วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นต้อนพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดการประมวลผลที่ต้องการ

2. การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เพื่อเป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม

3. การลงรหัสโปรแกรม เพื่อเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมกำหนดการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

5. การทำเอกประกอบโปรแกรมเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รู้จัการใช้โปรแกรม นอกจากนี้ยังใช้เอกสารประกอบการ

ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม





--------------------------------------------------------------------------------



การวิเคราะห์ปัญหา

การวิเคราะห์ปัญหาเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหาจะประกอบด้วย

ก. กำหนดวัตถุประสงค์ของงานเพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง

ข. พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมี คุณสมบัติเป็นอย่างไร

ลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า

ค. พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไขการประมวลผลอะไรบ้าง

ง. พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล



ตัวอย่างที่ 1.1 การวิเคราะห์ปัญหา

จงหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

การวิเคราะห์ปัญหา

กำหนดวัตถุประสงค์ (สิ่งที่โจทย์ต้องการ)

เพื่อหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ

พิจารณาข้อมูลนำเข้า

รายการข้อมูล ขนาดข้อมูล ลักษณะข้อมูล ตัวอย่าง

ความกว้าง(wide) 3 หลัก ตัวเลข 100

ความยาว (long) 3 หลัก ตัวเลข 230



พิจารณาวิธีประมวลผล

1. เริ่มต้นทำงาน

2. รับความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3. ความความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

4. คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

5. แสดงผลลัพธ์พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

6. จบการทำงาน

พิจารณาข้อสนเทศนำออก













การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่สองการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะให้ผลเป็นแนวทางการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ออกแบบโปรแกรม

คือผังงาน (Flow chart)

ผังงาน (Flow chart)

คือ วิธีการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล โดยการใช้สัญลักษณ์และ ตัวอักษรประกอบการอธิบายในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้





ตารางแสดงตัวอย่างของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีใช้ใน Flowchart



สัญลักษณ์ รูปภาพ

จุดเริ่มต้นหรือจุดจบของโปรแกรม (Terminal)

ข้อมูลเข้า/ออก (Input/Output)

การประมวลผล (Process)

การตัดสินใจ (Decision หรือ Selection)

ข้อมูลออกทางจอภาพ (Display)

ทิศทางของขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow line)

จุดที่มีการเชื่อมต่อ (Connector)

จุดต่อหน้าใหม่ (Off Page Connector)



ตัวอย่างที่ 1.2

การเขียนผังงานโครงสร้างของโปรแกรม โดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ปัญหาของตัวอย่างที่ 1.1















3. การลงรหัสโปรแกรม

การลงรหัสโปรแกรมเป็นภาษานำผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรมเปลี่ยนให้เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาใดภาษาหนึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การ

ประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ

ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการ ตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่ง

ของเอกสารประกอบ



4. การทดสอบและการแก้ไขโปรแกรม

การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา

และผลการทำงานของโปรแกรมนั้นถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป



5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรม

ช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม

การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับโดยรวบรวมรายละเอียดตั้งแต่การพัฒนาโปรแกรม

จนถึงการทดสอบโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม



ลักษณะโปรแกรมที่ดี

1. ได้ผลลัพธ์ถูกต้องตามต้องการถ้าได้มีการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาโปรแกรมอย่างมีระบบ

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบของข้อมูลได้

3. ต้องมีรูปแบบของโปรแกรทที่นักคอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายโดยโปรแกรมที่เขียนขึ้น

ควรมีรูปแบบการประมวลผลอย่างเป็นระบบและมีคำอธิบายที่ช่วยให้เข้าใจดีขึ้น

4. ต้องเอื้ออำนวยต่อการปรับปรุงแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และต้องมีเอกสารประกอบโปรแกรมที่พัฒนาด้วย


ที่มา :  http://www.cr3.go.th/ict/2.htm

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้



ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน



[แก้] การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ



แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter, hi5 และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก



[แก้] จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก


สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htmปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2552) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคน



หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 74.2 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.4 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 52.0 % ตามลำดับ



[แก้] อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"



การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]



[แก้] จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]



[แก้] อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท (INTERNET BANDWIDTH)

ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมี Internet Bandwidth ในประเทศ 110 Gbps และ International Internet Bandwidth 110 Gbps [3]



[แก้] ดูเพิ่ม

ประวัติอินเทอร์เน็ต

รายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

[แก้] หน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด

[แก้] อ้างอิง

^ http://www.manager.co.th/Telecom/ViewNews.aspx?NewsID=9500000067518

^ สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

^ [1] ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ความหมายอินเทอร์เน็ต

หนังสือประวัติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

สถิติอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Internet User Profile Survey)

ผลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 2551 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ


ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/