วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นต้อนพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์ปัญหา เพื่อกำหนดการประมวลผลที่ต้องการ

2. การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เพื่อเป็นแนวทางการเขียนโปรแกรม

3. การลงรหัสโปรแกรม เพื่อเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมกำหนดการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

5. การทำเอกประกอบโปรแกรมเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รู้จัการใช้โปรแกรม นอกจากนี้ยังใช้เอกสารประกอบการ

ตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม





--------------------------------------------------------------------------------



การวิเคราะห์ปัญหา

การวิเคราะห์ปัญหาเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาโปรแกรม การวิเคราะห์ปัญหาจะประกอบด้วย

ก. กำหนดวัตถุประสงค์ของงานเพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง

ข. พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมี คุณสมบัติเป็นอย่างไร

ลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า

ค. พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไขการประมวลผลอะไรบ้าง

ง. พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล



ตัวอย่างที่ 1.1 การวิเคราะห์ปัญหา

จงหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

การวิเคราะห์ปัญหา

กำหนดวัตถุประสงค์ (สิ่งที่โจทย์ต้องการ)

เพื่อหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพ

พิจารณาข้อมูลนำเข้า

รายการข้อมูล ขนาดข้อมูล ลักษณะข้อมูล ตัวอย่าง

ความกว้าง(wide) 3 หลัก ตัวเลข 100

ความยาว (long) 3 หลัก ตัวเลข 230



พิจารณาวิธีประมวลผล

1. เริ่มต้นทำงาน

2. รับความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

3. ความความยาวของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

4. คำนวณพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

5. แสดงผลลัพธ์พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

6. จบการทำงาน

พิจารณาข้อสนเทศนำออก













การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่สองการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะให้ผลเป็นแนวทางการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ออกแบบโปรแกรม

คือผังงาน (Flow chart)

ผังงาน (Flow chart)

คือ วิธีการออกแบบโปรแกรมอย่างเป็นขั้นตอนและมีเหตุมีผล โดยการใช้สัญลักษณ์และ ตัวอักษรประกอบการอธิบายในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้





ตารางแสดงตัวอย่างของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีใช้ใน Flowchart



สัญลักษณ์ รูปภาพ

จุดเริ่มต้นหรือจุดจบของโปรแกรม (Terminal)

ข้อมูลเข้า/ออก (Input/Output)

การประมวลผล (Process)

การตัดสินใจ (Decision หรือ Selection)

ข้อมูลออกทางจอภาพ (Display)

ทิศทางของขั้นตอนการดำเนินงาน (Flow line)

จุดที่มีการเชื่อมต่อ (Connector)

จุดต่อหน้าใหม่ (Off Page Connector)



ตัวอย่างที่ 1.2

การเขียนผังงานโครงสร้างของโปรแกรม โดยอาศัยผลจากการวิเคราะห์ปัญหาของตัวอย่างที่ 1.1















3. การลงรหัสโปรแกรม

การลงรหัสโปรแกรมเป็นภาษานำผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรมเปลี่ยนให้เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาใดภาษาหนึ่งผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การ

ประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ

ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการ ตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่ง

ของเอกสารประกอบ



4. การทดสอบและการแก้ไขโปรแกรม

การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา

และผลการทำงานของโปรแกรมนั้นถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป



5. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม

การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรม

ช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม

การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับโดยรวบรวมรายละเอียดตั้งแต่การพัฒนาโปรแกรม

จนถึงการทดสอบโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม



ลักษณะโปรแกรมที่ดี

1. ได้ผลลัพธ์ถูกต้องตามต้องการถ้าได้มีการวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาโปรแกรมอย่างมีระบบ

2. ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบของข้อมูลได้

3. ต้องมีรูปแบบของโปรแกรทที่นักคอมพิวเตอร์ทั่วไปสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายโดยโปรแกรมที่เขียนขึ้น

ควรมีรูปแบบการประมวลผลอย่างเป็นระบบและมีคำอธิบายที่ช่วยให้เข้าใจดีขึ้น

4. ต้องเอื้ออำนวยต่อการปรับปรุงแก้ไขที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และต้องมีเอกสารประกอบโปรแกรมที่พัฒนาด้วย


ที่มา :  http://www.cr3.go.th/ict/2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น